วันเสาร์ที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต

การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต

คุณลักษณะของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะนํามาเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
        เมื่อได้ทราบถึงประวัติความเป็นมา รวมทั้งความหมายของระบบอินเทอร์เน็ตแล้ว ถ้าเราต้องการที่จะเขื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเพื่อใช้งาน เราจะต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง นอกจากสิ่งที่เรามองเห็น คือเครื่องคอมพิวเตอร์ ฉะนั้น เราจะต้องทราบถึงอุปกรณ์ วิธีการเชื่อมต่อ แบะการพิจารณาผู้ให้บริการด้านอินเทอร์เน็ต เพื่อสมัครเป็นสมาชิกในการใช้บริการ
อินเทอร์เน็ต ซึ่งทุกอย่างจะเป็นปัจจัยสำคัญสำหรับการเชื่อมต่อเพื่อใช้งานในระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดนจะแสดงขั้นตอนและวิธีการในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตสำหรับการใช้งานภายในบ้าน ซึ่งเราจะต้องเป็นบุคคลที่จะต้องจัดหาอุปกรณ์ทุกอย่างด้วยตัวเอง เพื่อทำให้สามารถเลือกอุปกรณ์ที่จะนำมาใช้งานได้อย่างถูกต้องซึ่งจะแตกต่างกับวิธีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจากหน่วยงาน เพราะเราจะเป็นเพียงผู้ใช้เท่านั้นโดยไม่จำเป็นต้องดำเนินการติดตั้ง หรือเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ใดๆ ทั้งสิ้น

การปรับแต่งคอมพิวเตอร์สำหรับการใช้งานอินเทอร์เน็ต
        สำหรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเพื่อใช้งานภายในบ้าน จำเป็นต้องมีส่วนประกอบสำคัญที่จะสามารถเชื่อมต่อระหว่างผู้ใช้กับผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต เพราะการใช้งานอินเทอร์เน็ตนั้น จะต้องเกิดจากการเชื่อมต่อของทั้งสองฝั่งก่อนจึงจะสามารถใช้งานได้ ซึ่งจะประกอบด้วยส่วนประกอบที่สำคัญ ดังต่อไปนี้
        1. อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
        2. โมเด็ม (Modem)
        3. โปรแกรมสำหรับการใช้งานอินเทอร์เน็ต
        4. วิธีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต
        5. การเลือกผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต

อุปกรณ์อินเทอร์เน็ต
        1. เมนบอร์ด (Mainboardเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้ควรมีประสิทธิภาพสูงพอสมควรในปัจจุบันคอมพิวเตอร์โดยทั่วไป จะมีซีพียูรุ่น Celeron, Pentium IV และ AMDซึ่งซีพียูเหล่านี้จะสนับสนุนการใช้งานเพื่อเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต และซีพียูเหล่านี้จะรับรองการใช้งานระบบ มัลติมีเดียด้วย ไม่ว่าจะเป็นการ์ดจอ การ์ดเสียง และลำโพง เพราะการท่องเว็บนั้นจะมีทั้งภาพเคลื่อนไหว และเสียง จึงจำเป็นต้องมีระบบรองรับการใช้งาน เพื่อให้สามารถท่องเว็บได้อย่างสมบูรณ์ และทำให้น่าสนใจมากขึ้น
        2. หน่วยความจำแรม (RAMการเลือกหน่วยความจำแรมจะขึ้นอยู่กับระบบปฏิบัติการที่ใช้ แต่อย่างน้อยไม่ควรต่ำกว่า 64-128 MB แต่ในปัจจุบันระบบปฏิบัติการที่นิยมใช้คือ Windows XP หน่วยความจำแรมไม่ควรต่ำกว่า 256 MB เพราะโปรแกรมที่ใช้บริการต่างๆ บนอินเทอร์เน็ตจะต้องใช้หน่วยความจำมากพอสมควร
        3. จอภาพและการ์ดแสดงผล จอภาพสามารถแสดงผลได้ตั้งแต่ 256 สีขึ้นไป ความละเอียดไม่ควรต่ำกว่า 800x600 pixels ซึ่งปัจจุบันจอภาพจะสามารถแสดงได้ถึง 16 ล้านสีแล้ว ทำให้สามารถแสดงภาพได้ดีโดยเฉพาะภาพถ่าย
        4. ระบบมัลติมีเดีย คือการ์ดเสียงพร้อม
ลำโพง หรือถ้าใช้โทรศัพท์ผ่านอินเทอร์เน็ตก็จะต้องมีไมโครโฟนด้วย และถ้าต้องการพูดคุยแบบให้เห็นหน้าทั้งสองฝ่ายก็ต้องมีกล้องวิดีโอที่มีความละเอียดต่ำ หรือที่เรียกว่าเว็บแคม” (Webcam) ซึ่งเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกรุ่นจะมีให้เฉพาะการ์ดเสียง และลำโพงเท่านั้น อุปกรณ์เสริมอื่นๆ คือ ไมโครโฟน และกล้องเว็บแคม ผู้ใช้จะต้องหาเพิ่มเติมเองเมื่อต้องการใช้งาน

โมเด็ม         
        โมเด็ม หรือ Modem (Modulator/Demodulator) มีหน้าที่แปลงข้อมูลในรูปแบบดิจิทัล (Digital) ของระบบคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณเสียงในรูปแบบแอนะล็อก (Analog) เพื่อให้สามารถส่งไปทางสายโทรศัพท์ได้ เรียกว่า การ Modulate โดนที่ปลายทางก็จะมีโมเด็มทำหน้าที่แปลงสัญญาณเสียงในรูปแบบแอนะล็อก (Analog) ซึ่งรับมาจากโทรศัพท์ให้กลับมาเป็นข้อมูลแบบดิจิทัล (Digital) เพื่อใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ เรียกว่า การ Demodulate
        โมเด็มมาตรฐานในปัจจุบัน จะมีความเร็วในการสื่อสารข้อมูล ที่ 56 kbps คือ ใน 1 วินาที สามารถดึงข้อมูลได้ 56,000 bit หรือประมาณ 7 kbyte ต่อวินาที เนื่องจากสายโทรศัพท์ส่วนใหญ่จะสามารถส่งข้อมูลได้ ไม่เกิน 56 kbps ดังนั้น ถ้าเราเลือกโมเด็มที่มีความเร็วมากกว่านี้ ก็ไม่สามารถทำให้การส่งข้อมูลเร็วขึ้นได้เพราะต้องสื่อสารผ่านสายโทรศัพท์ โมเด็มจะแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ตามลักษณะของการใช้งาน คือ

        1. โมเด็มแบบภายใน (Internal) มีลักษณะเป็นการ์ดเสียบเข้ากับสล็อตแบบPCI ภายในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์
        ข้อดี
                1. ไม่เปลื้องเนื้อที่เพราะติดตั้งภายในเครื่องคอมพิวเตอร์
                2. ไม่ต้องเสียบไฟฟ้า
                3. มีราคาถูก
        ข้อเสีย
                1. การติดตั้งยาก เพราะต้องเปิดเครื่องเพื่อที่จะเสียบการ์ดในสล็อต PCIภายในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์
                2. ไม่สามารถมองเห็นการทำงานของโมเด็ม
                3. เคลื่อนย้ายไปใช้คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นได้ยาก
                4. ต้องการเครื่องที่มีความเร็วสูง
                5. พบปัญหาต่างๆ ได้บ่อย เช่น สายหลุดง่าย



        2. โมเด็มแบบภายนอก (Externalจะเป็นอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อภายนอกเครื่องคอมพิวเตอร์โดยจะต่อเข้าที่ Serial Port และ USB Port ของคอมพิวเตอร์
        ข้อดี
                1. ติดตั้งง่าย
                2. สามารถมองเห็นการทำงานของโมเด็มได้
                3. สามารถใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์รุ่นเก่าได้
                4. ไม่ค่อยมีปัญหาในการใช้งาน
                5. สามารถเคลื่อนย้ายได้ง่าย
        ข้อเสีย
                1. เปลืองเนื้อที่ในการวางโมเด็ม
                2. มีราคาแพง
                3. ต้องมีแหล่งจ่ายไฟและต่อสายไฟ
                4. ต้องใช้ Serial Port หรือ USB Port ในการต่อกับโมเด็ม ทำให้เปลืองPort ที่มีไว้สำหรับนำไปต่อกับอุปกรณ์อื่นๆ

3. โมเด็มแบบ PCMCIA เป็นโมเด็มที่มีขนาดเล็กและบางที่สุด ซึ่งมีขนาดเท่ากับบัตรเครดิต โมเด็มแบบ PCMCIA จะถือเป็นโมเด็มแบบภายใน ซึ่งได้ออกแบบมาสำหรับการใช้งานกับเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค (Notebook Computer) เท่านั้น โดนที่เครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊คจะมีช่องสล็อตไว้เสียบโมเด็ม PCMCIA ได้ทันที โมเด็มแบบนี้จะใช้กระแสไฟฟ้าจากเครื่องคอมพิวเตอร์

        โปรแกรมสำหรับการใช้งานอินเทอร์เน็ต        
        เมื่อมีอุปกรณ์คอมพิวเตอร์สำหรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแล้ว ก็ต้องมีโปรแกรมหรือ ซอฟต์แวร์ สำหรับใช้ในการปฏิบัติงานอินเทอร์เน็ต ซึ่งโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ หมายถึง ชุดคำสั่ง ที่เขียนขึ้นเพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงาน ดังนั้น โปรแกรมต่างๆ เหล่านี้ ก็ถือว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่จะสามารถให้ใช้งานอินเทอร์เน็ตได้ สำหรับโปรแกรมที่มีความสำคัญในการใช้งานอินเทอร์เน็ต ประกอบด้วย 5 ประเภท ดังต่อไปนี้
  
        1. โปรแกรมระบบปฏิบัติการ เป็นโปรแกรมที่จำเป็นมากสำหรับการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกชนิด เพราะจะเป็นโปรแกรมที่ทำหน้าที่จัดสรรทรัพยากรต่างๆ ในระบบ เช่นหน่วยความจำ การบันทึกข้อมูล และอุปกรณ์ต่อเชื่อมอื่นๆ เช่น เครื่องพิมพ์ โมเด็ม และจอภาพ โปรแกรมระบบปฏิบัติการยังทำให้ผู้ใช้สามารถปฏิบัติงานกับเครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ ดังนั้น ถ้าเครื่องคอมพิวเตอร์ใดไม่มีโปรแกรมระบบปฏิบัติการ เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นก็จะไม่สามารถปฏิบัติงานได้ และโปรแกรมระบบปฏิบัติการที่ได้รับความนิยมสูงสุด คือ Microsoft Windows  เช่นWindows 95/98 Windows Me Windows NT/2000 และ Windows XP เป็นต้น
        2. โปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ คือ โปรแกรมที่ใช้ในการเปิดเว็บเพจต่างๆ ในอินเทอร์เน็ตซึ่งโปรแกรมนี้จะมีความสามารถมากมายที่จะเป็นประโยชน์ในการท่องเว็บ และโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ยังเปรียบเสมือนตัวแปลภาษา เพราะเว็บเพจเหล่านั้นจะใช้รูปรูปแบบคำสั่งภาษา HTML ซึ่งโปรแกรมเว็บเบาร์วเซอร์จะแปลคำสั่งต่างๆ มาแสดงผลทางจอภาพ
        โปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์มีหลายชนิด เช่น Netscape Communicator, Internet Explorer, Opera เป็นต้น แต่ที่รู้จักดีเป็นที่นิยมใช้งานมากที่สุดคือ Internet Explorerเพราะเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนใหญ่ใช้ระบบปฏิบัติการของ Windows 
        3. โปรแกรมรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ทำหน้าที่เก็บข้อมูลจดหมายโดยสร้างโฟลเดอร์สำหรับเก็บจดหมายไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ของเรา และโปรแกรมจะทำการดึงจดหมายของเราจากเครื่อง Mail Server มาไว้ในโฟลเดอร์ที่ได้สร้างไว้ เพื่อเราจะสามารถเรียกอ่านจดหมายได้ตลอดเวลาแม้ในขณะที่ไม่ได้ทำการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต โปรแกรมรับส่งจดหมายที่นิยม ได้แก่ Microsoft Outlook, Microsoft Outlook Expressฯลฯ
        4. โปรแกรมสำหรับการสื่อสารบนอินเทอร์เน็ต เป็นโปรแกรมที่ใช้สำหรับดารสื่อสารระหว่างผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตด้วยกัน ทั้งในรูปแบบของการพิมพ์ข้อความโต้ตอบ ที่เรียกว่าการ Chat รูปแบบของเสียงโดยการสนทนาผ่านไมโครโฟน และในปัจจุบันได้มีโปรแกรมสำหรับการสื่อสารโดยสามารถมองเห็นภาพ และพูดคุยด้วยเสียงระหว่างคู่สนทนาได้ เป็นการสื่อสารแบบทางไกล เช่น โปรแกรม MSN Messenger, Microsoft Chat, Microsoft NetMeeting, ICQ, Pirch, Yahoo Messenger ฯลฯ
        5. โปรแกรมมัลติมีเดียบนอินเทอร์เน็ต การใช้งานบนระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในปัจจุบันมีหลากหลายรูปแบบ ทั้งรูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว เสียง วีดิทัศน์ เป็นต้น ดังนั้น เพื่อเป็นการสนับสนุนการทำงานในรูปแบบมัลติมีเดียของระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จะต้องติดตั้งโปรแกรมประเภทนี้ไว้ ซึ่งทำให้ผู้ใช้งานสามารถรับข้อมูลประเภทมัลติมีเดียได้อย่างมีประสิทธิภาพ โปรแกรมมัลติมีเดียที่ได้รับความนิยมสำหรับการใช้งานบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ได้แก่ โปรแกรม Real Audio, Windows Media Player, Real Video ฯลฯ

วิธีการเชื่อมต่อเข้าสู่อินเตอร์เน็ต
        การเชื่อมโยงโดยตรงด้วยเกตเวย์เป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เข้ากับBackbone ของอินเตอร์เน็ต โดยผ่านเกตเวย์ (Gateway) หรือ IP Router   สายสื่อสารความเร็วสูงมาก มักใช้กับองค์กรขนาดใหญ่ เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายสูงมาก การเชื่อมโยงต่อ
ผ่านInternet Service Providers(ISP)เป็นการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ เข้าสู่อินเตอร์เน็ตโดยผ่านบริษัทผู้ให้บริการจัดสรรการเชื่อมโยง 


รูปแบบการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต 
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบใช้สาย (Wire Internet)         
        1. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตรายบุคคล (Individual Connection) การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตรายบุคคล คือ การเชื่อมต่อ
อินเตอร์เน็ตจากที่บ้าน (Home user) ซึ่งยังต้องอาศัยคู่สายโทรศัพท์ในการเข้าสู่เครือข่ายอินเตอร์เน็ต ผู้ใช้ต้องสมัครเป็นสมาชิกกับ
ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตก่อน จากนั้นจะได้เบอร์โทรศัพท์ของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต รหัสผู้ใช้ (User name) และรหัสผ่าน
(Password) ผู้ใช้จะเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ตได้โดยใช้โมเด็มที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้หมุนไปยังหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ให้
บริการอินเตอร์เน็ต จากนั้นจึงสามารถใช้ งานอินเตอร์เน็ตได้
องค์ประกอบของการใช้อินเตอร์เน็ตรายบุคคล                 
        1. โทรศัพท์                 
        2. เครื่องคอมพิวเตอร์                 
        3. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ซึ่งจะให้เบอร์โทรศัพท์ รหัสผู้ใช้และรหัสผ่าน                 
        4. โมเด็ม (Modem) 
        2. การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบองค์กร (Corporate Connection) การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบองค์กรนี้จะพบได้ทั่วไปตามหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน หน่วยงานต่างๆ เหล่านี้จะมีเครือข่ายท้องถิ่น (Local Area Network : LAN) เป็นของตัวเอง ซึ่งเครือข่าย LAN นี้เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตตลอดเวลา ผ่านสายเช่า (Leased line) ดังนั้น บุคลากรในหน่วยงานจึงสามารถใช้อินเตอร์เน็ตได้ตลอดเวลา การใช้อินเตอร์เน็ตผ่านระบบ LAN ไม่มีการสร้างการเชื่อมต่อ(Connection) เหมือนผู้ใช้รายบุคคลที่ยังต้องอาศัยคู่สายโทรศัพท์ในการเข้าสู่เครือข่ายอินเตอร์เน็ต

 
การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบไร้สาย (Wireless Internet) 
        3การใช้งานอินเตอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือโดยตรง (Mobile Internet)                 
                1. WAP (Wireless Application Protocol) เป็นโปรโตคอลมาตรฐานของอุปกรณ์ไร้สายที่ใช้งานบนอินเตอร์เน็ต ใช้ภาษา WML (Wireless Markup Language)ในการพัฒนาขึ้นมา แทนการใช้ภาษา HTML (Hypertext markup Language) ที่พบในwww โทรศัพท์มือถือปัจจุบัน หลายๆยี่ห้อ จะสนับสนุนการใช้ WAP เพื่อท่องอินเตอร์เน็ต ซึ่งมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่ 9.6 kbps และการใช้ WAP ท่องอินเตอร์เน็ตนั้น จะมีการคิดอัตราค่าบริการเป็นนาทีซึ่งยังมีราคาแพง       

          
                2. GPRS (General Packet Radio Service)    เป็นเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นเพื่อให้โทรศัพท์มือถือสามารถเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตด้วยความเร็วสูง และสามารถส่งข้อมูลได้ในรูปแบบของมัลติมีเดีย ซึ่งประกอบด้วย ข้อความ ภาพกราฟิก เสียง และวีดิโอ ความเร็วในการรับส่งข้อมูลด้วยโทรศัพท์ที่สนับสนุน GPRS อยู่ที่ 40 kbps ซึ่งใกล้เคียงกับโมเด็มมาตรฐานซึ่งมีความเร็ว 56 kbps อัตราค่าใช้บริการคิดตามปริมาณข้อมูลที่รับ-ส่ง ตามจริง ดังนั้นจึงทำให้ประหยัดกว่าการใช้ WAP และยังสื่อสารได้รวดเร็วขึ้นด้วย                 


                3. โทรศัพท์ระบบ CDMA (Code Division Multiple Access) ระบบ CDMAนั้น สามารถรองรับการสื่อสารไร้สายความเร็วสูงได้เป็นอย่างดี โดยสามารถทำการรับส่งข้อมูลได้สูงสุด 153 Kbpsซึ่งมากกว่าโมเด็มที่ใช้กับโทรศัพท์ตามบ้านที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตได้เพียง56 kbps นอกจากนี้ ระบบ CDMA ยังสนับสนุนการส่งข้อมูลระบบมัลติมีเดียได้ด้วย        
       
                4. เทคโนโลยี บลูทูธ (Bluetooth Technology) เทคโนโลยีบลูทูธถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่อใช้กับการสื่อสารแบบไร้สาย โดยใช้หลักการการส่งคลื่นวิทยุ ที่อยู่ในย่านความถี่ระหว่าง 2.4 - 2.4 GHz ในปัจจุบันนี้ได้มีการผลิตผลิตภัณฑ์ต่างๆที่ใช้เทคโนโลยีไร้สาย
บลูธูทเพื่อใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายๆชนิด เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค คอมพิวเตอร์พ็อคเก็ตพีซี  
     
  
        4การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตด้วยโน้ตบุ๊ค(Note book) และ เครื่องปาล์ม (Palm) 
        ผ่าน โทรศัพท์มือถือที่สนับสนุนระบบ GPRS โทรศัพท์มือถือที่สนับสนุน GPRS จะทำหน้าที่เสมือนเป็นโมเด็มให้กับอุปกรณ์ที่นำมาพ่วงต่อ ไม่ว่าจะเป็น Note Book หรือPalm และในปัจจุบันบริษัทที่ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้มีการผลิต SIM card ที่เป็นInternet SIM สำหรับโทรศัพท์มือถือเพื่อให้สามารถติดต่อกับอินเทอร์เน็ตได้สะดวกและรวดเร็วมากขึ้น

การให้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง 

         1. บริการอินเตอร์เน็ตผ่าน ISDN (Integrated Service Digital Network) 
            เป็นการเชื่อมต่อสายโทรศัพท์ระบบใหม่ที่รับส่งสัญญาณเป็นดิจิทัลทั้งหมด อุปกรณ์และชุมสายโทรศัพท์จะเป็นอุปกรณ์ที่สนับสนุนระบบของ ISDN โดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องโทรศัพท์ และโมเด็มสำหรับ ISDN
   
การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตแบบ ISDN
                 
        1. Network Terminal (NT) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ต่อจากชุมสาย ISDN เข้ากับอุปกรณ์ดิจิทัลของ ISDN โดยเฉพาะ เช่น เครื่องโทรศัพท์ดิจิทัล เครื่องแฟกซ์ดิจิทัล


        2. Terminal adapter (TA) เป็นอุปกรณ์แปลงสัญญาณเพื่อใช้ต่อ NT เข้ากับอุปกรณ์ที่ใช้กับโทรศัพท์บ้านระบบเดิม และทำหน้าที่เป็น ISDN modem ที่ความเร็ว 64-128 Kbps

        3. ISDN card เป็นการ์ดที่ต้องเสียบในแผงวงจรหลักในคอมพิวเตอร์เพื่อต่อกับNTโดยตรง ในกรณีที่ไม่ใช้ Terminal adapter

        4. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านคู่สาย ISDN (ISDN ISP) เช่น KSC, InternetThailand, Lox Info, JI-Net ฯลฯ ซึ่งผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต

        5การเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแบบไร้สายผ่านเครื่องโทรศัพท์บ้านเคลื่อนที่ PCTเป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตผ่านคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ก (Note book) และคอมพิวเตอร์แบบพกพา (Pocket PC) ผู้ใช้จะต้องมี โมเด็มชนิด PCMCIA ของ PCT ผู้ใช้สามารถใช้อินเทอร์เน็ตไร้ได้ ในเขตกรุงเทพ และปริมณฑลได้        

           องค์ประกอบของการต่ออินเตอร์เน็ตด้วยระบบโทรศัพท์ ISDN
เหล่านี้จะทำการเช่าคู่สาย ISDN กับองค์การโทรศัพท์ (บริษัท ทศท. คอร์ปอเรชั่น จำกัด มหาชน )
        2. บริการอินเตอร์เน็ตผ่านเคเบิลโมเด็ม (Cable Modem)       
             เป็นการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยความเร็วสูง โดยไม่ใช้สายโทรศัพท์ แต่อาศัยเครือข่ายของผู้ให้บริการเคเบิลทีวีความเร็ว ของการใช้เคเบิลโมเด็มในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตจะทำให้ความเร็วสูงถึง 2/10 Mbps นั้น คือ ความเร็วในการอัพโหลด ที่ 2 Mbps
และความเร็วในการ ดาวน์โหลด ที่ 10 Mbps แต่ปัจจุบันยังเปิดให้บริการอยู่ที่ 64/256 Kbps
          องค์ประกอบของการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยเคเบิลโมเด็ม 
                

        1. ต้องมีการเดินสายเคเบิลจากผู้ให้บริการเคเบิล มาถึงบ้าน ซึ่งเป็นสายโคแอกเชียล (Coaxial ) 
        2. ตัวแยกสัญญาณ (Splitter) ทำหน้าที่แยกสัญญาณคอมพิวเตอร์ผ่านเคเบิล
        3. Cable modem ทำหน้าที่แปลงสัญญาณ   
        4. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตผ่านเคเบิลโมเด็ม ในปัจจุบัน มีเพียงบริษัทเดียว คือ บริษัทเอเชียมัลติมีเดีย ในเครือเดียวกับบริษัทเทเลคอมเอเชีย ผู้ให้บริการ AsiaNet    

หน้าที่ประเภทของโมเด็ม
        โมเด็น (Modem)เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แปลงสัญญาณ คอมพิวเตอร์ให้สามารถเชื่อมคอมพิวเตอร์ที่อยู่ระยะไกลเข้าหากันได้ด้วยการผ่านสายโทรศัพท์ โดยโมเด็ม จะทำหน้าที่แปลงสัญญาณ ซึ่งแบ่งออกเป็นทั้งภาคส่ง และภาครับ โดยภาคส่งจะทำการแปลงสัญญาณคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณโทรศัพท์ (Digital to Analog) ในขณะที่ภาครับนั้นจะทำการแปลงสัญญาณโทรศัพท์กลับมาเป็นสัญญาณคอมพิวเตอร์ (Analog to Digital) ดังนั้นในการเชื่อมต่อข่ายระยะไกลๆ เช่น อินเทอร์เน็ต จึงจำเป็นต้องใช้โมเด็ม โดยโมเด็มมีทั้งแบบภายใน (Internal Modem) ที่มีลักษณะเป็นการ์ด, โมเด็มภายนอก (External Modem) ที่มีลักษณะเป็นกล่องแยกออกต่างหาก และรวมถึงโมเด็มที่เป็นแบบ PCMCIA ที่มักใช้กับเครื่องคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค นอกจากนี้แล้ว ก็ยังมีระบบปฏิบัติการเครือข่าย (Network Operating System) ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ สำคัญตัวหนึ่งในการทำทั้งเครื่องศูนย์บริการและเครื่องลูกข่ายสามารถสื่อสารติดต่อกันได้ รวมทั้งการจัดการทรัพยากรให้สามารถใช้ร่วมกันได้และการควบคุมระบบความปลอดภัยบนเครือข่าย

โมเด็ม (Modem: Modulator – DEModulator)
โมเด็มเป็นอุปกรณ์การสื่อสารชนิดหนึ่งซึ่งอาศัยเครือข่ายโทรศัพท์เป็นช่องทางสื่อสารข้อมูลโดยหน้าที่ของโมเด็ม คือ การแปลงข้อมูลดิจิตอลให้เป็นข้อมูลอนาล็อกเพื่อให้ข้อมูลสามารถเดินทางไปตามสายโทรศัพท์ได้และเมื่อไปถึงคอมพิวเตอร์ปลายทางก็จะมีโมเด็มอีกตัวแปลงข้อมูลลอนาล็อกให้กลับเป็นข้อมูลดิจิตอลแล้วส่งเข้าไปประมวลผลในเครื่องคอมพิวเตอร์ต่อไป ดังนั้นหากผู้ใช้ต้องการให้ระบบเครือข่ายของตนสามารถเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ตได้ จะต้องติดตั้งโมเด็มด้วยเสมอ (ยกเว้นองค์การที่มีการเช่า Leased Line)
ในปัจจุบันมีโมเด็มให้เลือกใช้อยู่ 3 ชนิด คือ โมเด็มแบบอินเทอร์นอลโมเด็มแบบเอ็กซ์เทอร์นอล และโมเด็มแบบไร้สาย
® โมเด็มแบบอินเทอร์นอล
โมเด็มแบบอินเทอร์นอล เป็นโมเด็มที่มีลักษณะเป็นการ์ดเสียบเข้ากับเมนบอร์ด ซึ่งเป็นแผงวงจรติดตั้งอยู่ภายในเคส (Case) ดังนั้นชื่อของโมเด็มชนิดนี้จึงเรียกว่า โมเด็มแบบอินเทอร์นอลนั่นเองราคาของโมเด็มอินเทอร์นอลนั้นถูกกว่าแบบเอ็กซ์เทอร์นอลมาก แต่มีหน้าที่การทำงานเหมือนกันและข้อเสียตรงที่การติดตั้งยากและเคลื่อนย้ายไม่สะดวกตัวอย่างดังรูปที่ 4.12 (a)
® โมเด็มแบบ เอ็กซ์เทอร์นอล (External modem)
โมเด็มแบบเอ็กซ์เทอร์นอล เป็นโมเด็มที่มีลักษณะเป็นกล่องแยกออกมาต่างหากไม่ใช่เป็นการ์ดเหมือนอินเทอร์นอลอาศัยช่องเสียบด้านหลังเคส (Case) ที่เรียกว่า “พอร์ต (Port)” เป็นจุดเชื่อมต่อกับเมนบอร์ดซึ่งการเลือกซื้อโมเด็มเอ็กซ์เทอร์นอลผู้ซื้อจะต้องพิจารณาที่พอร์ตด้วยว่าใช้เชื่อมต่อกับพอร์ตแบบใด เช่น พอร์ต USB หรือพอร์ต Serial เป็นต้นส่วนราคาของโมเด็มเอ็กซ์เทอร์นอลจะสูงกว่าแบบอินเทอร์นอลแต่มีข้อดีคือติดตั้งและเคลื่อนย้ายไปใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นได้ง่ายกว่าตัวอย่างดังรูปที่ 4.12 (b)
® โมเด็มแบบไร้สาย (Wireless Modem)
โมเด็มแบบไร้สาย ใช้การสื่อสารด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแต่ปัจจุบันจะมีราคาสูงกว่าโมเด็มเอ็กซ์เทอร์นอลและอินเทอร์นอลตัวอย่างดังรูปที่ 4.12 (c)


Fax Modem
ทำหน้าที่เป็นทั้งเครื่องโทรสาร (Fax) และโมเด็ม (Modem) ภายในอุปกรณ์ตัวเดียวโดย Fax เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่ในการรับและส่งเอกสารไปบนเครือข่ายซึ่งเอกสารนั้นอาจเป็นได้ทั้ง ข้อความ รูปวาด รูปภาพ หรือข้อความที่เขียนด้วยมือ โดย Fax Modem จะทำการส่งข้อมูลที่แสดงผลอยู่บนจอในขณะนั้นออกไปยังเครื่องของผู้รับแต่จะต้องใช้ควบคู่กับซอฟต์แวร์เฉพาะอุปกรณ์ชิ้นนี้จะมีรูปร่างลักษณะเหมือนกับโมเด็ม
มัลติเพล็กเซอร์ (Multiplexer: Mux)
มัลติเพล็กเซอร์ เป็นอุปกรณ์การสื่อสารข้อมูลชนิดหนึ่งที่ทำหน้าที่ในการรวมสัญญาณหลาย ๆ สัญญาณจากแหล่งข้อมูลหลาย ๆ แหล่งเข้าไว้ด้วยกันเพื่อให้สามารถเดินทางไปในช่องทางการสื่อสารเพียงช่องทางเดียวได้และที่ปลายทางก็จะมีดีมัลติเพล็กเซอร์ (Demultiplexer: Demux) ทำหน้าที่ในการแบ่งสัญญาณกลับไปเป็นหลาย ๆ สัญญาณดังเดิม

รูปที่ 4.13 แสดงการทำมัลติเพล็กซิ่งและดีมัลติเพล็กซิ่ง

Ä การมัลติเพล็กแบบแบ่งตามความถี่ (FDM: Frequency Division Multiplexing) 
FDM เป็นการรวมเอาสัญญาณที่มีความถี่แตกต่างกันมาไว้ด้วยกันแล้วส่งออกไปพร้อม ๆ กันซึ่งเป็นแบบที่นิยมใช้กันมากในด้านวิทยุและโทรทัศน์ รูปที่ 4.14


รูปที่ 4.14 แสดงการมัลติเพล็กแบบแบ่งตามความถี่ (a) ข้อมูลก่อน
การมัลติเพล็กอยู่ในช่วงความถี่เดียวกัน (b) ข้อมูลถูกจัด
ให้อยู่ในช่วงความถี่ที่ต่างกัน (c) ข้อมูลหลังการมัลติเพล็ก
ถูกส่งไปพร้อมกัน

Ä การมัลติเพล็กแบบแบ่งตามเวลา (TDM: Time Division Multiplexing)
TDMเป็นการแบ่งช่วงเวลาในการส่งสัญญาณออกเป็นช่วงเล็ก ๆ แล้วส่งข้อมูลจากแต่ละแหล่งไปในแต่ละช่วงเวลานั้น เช่น ข้อมูลจากแหล่งที่ 1 ส่งไปในช่วงเวลา t1 ข้อมูลจากแหล่งที่ 2 ส่งไปในช่วงเวลา t2 เป็นต้นเพื่อให้สามารถส่งสัญญาณข้อมูลที่มาจากหลาย ๆ แหล่งออกไปได้ในสายสัญญาณเส้นเดียว ดังรูปที่ 4.15 วิธี TDM นี้ใช้ได้กับสัญญาณดิจิตอลเท่านั้น


รูปที่ 4.15 แสดงการมัลติเพล็กแบบแบ่งตามเวลา
PBX (Private Branch Exchange)
PBX คือชุมสายโทรศัพท์ย่อยขององค์กร หรือตู้สาขาโทรศัพท์โดยจะมีความสามารถในการเลือกเส้นทางต่อสัญญาณสายโทรศัพท์โดยอัตโนมัติหรือ ARS (Automatic Route Selection) ความสามารถนี้จะช่วยประหยัดค่าโทรศัพท์ทางไกลได้โดยที่ ARS จะเลือกเฉพาะเส้นทางที่มีค่าบริการต่ำสุดก่อนเป็นอันดับแรกโดยอัตโนมัติ PBX แบบดิจิตอลในปัจจุบันมีความสามารถในการรวมสัญญาณเสียง (Voice) และข้อมูล (Data) เข้าด้วยกันและส่งไปพร้อมกันตามสายสัญญาณจากภายในอาคารออกไปสู่สายภายนอกได้ นอกจากนี้ยังสามารถเชื่อมต่อสายโทรศัพท์ภายในจำนวนมากกับสายโทรศัพท์ของบริษัทที่ต่อออกสู่ภายนอกที่มีจำนวนน้อยได้

โมเด็ม (Modems)
เป็นอุปกรณ์สำหรับคอมพิวเตอร์อย่างหนึ่งที่ช่วยให้คุณสัมผัสกับโลกภายนอกได้อย่างง่ายดาย โมเด็มเป็นเสมือนโทรศัพท์สำหรับคอมพิวเตอร์ที่จะช่วยให้ระบบคอมพิวเตอร์ของคุณสามารถสื่อสารกับคอมพิวเตอร์อื่นๆ ได้ทั่วโลก โมเด็มจะสามารถทำงานของคุณให้สำเร็จได้ก็ด้วยการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์ของคุณเข้าคู่สายของโทรศัพท์ธรรมดาคู่หนึ่งซึ่งโมเด็มจะทำการแปลงสัญญาณดิจิตอล (digital signals) จากเครื่องคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณอนาล็อก (analog signals) เพื่อให้สามารถส่งไปบนคู่สายโทรศัพท์
คำว่า โมเด็ม(Modems) มาจากคำว่า (modulate/demodulate) ผสมกัน หมายถึง กระบวนการแปลงข้อมูลข่าวสารดิจิตอลให้อยู่ในรูปของอนาล็อกแล้วจึงแปลงสัญญาณกลับเป็นดิจิตอลอีกครั้งหนึ่งเมื่อโมเด็มของคุณต่อเข้ากับโมเด็มตัวอื่นความแตกต่างของโมเด็มแต่ละประเภท
โมเด็มแต่ละประเภทจะมีคุณลักษณะที่แตกต่างกันดังนี้ 1. ความเร็วในการรับ - ส่งสัญญาณ ความเร็วในการรับ - ส่งสัญญาณ หมายถึง อัตรา (rate) ที่โมเด็มสามารถทำการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับโมเด็มอื่นๆมีหน่วยเป็น บิต/วินาที (bps) หรือ กิโลบิต/วินาที (kbps) ในการบอกถึงความเร็วของโมเด็มเพื่อให้ง่ายในการพูดและจดจำ มักจะตัดเลขศูนย์ออกแล้วใช้ตัวอักษรแทน เช่น โมเด็ม 56,000 bps จะเรียกว่า โมเด็มขนาด 56 K 2. ความสามารถในการบีบอัดข้อมูล ข้อมูลข่าวสารที่ส่งออกไปบนโมเด็มนั้นสามารถทำให้มีขนาดกะทัดรัดด้วยวิธีการบีบอัดข้อมูล (compression) ทำให้สามารถส่งข้อมูลได้ครั้งละเป็นจำนวนมากๆ เป็นการเพิ่มความเร็วของโมเด็มในการรับ - ส่งสัญญาณ 3. ความสามารถในการใช้เป็นโทรสาร โมเด็มรุ่นใหม่ๆ สามารถส่งและรับโทรสาร (Fax capabilities) ได้ดีเช่นเดียวกับการรับ - ส่งข้อมูล หากคุณมีซอฟท์แวร์ที่เหมาะสมแล้วคุณสามารถใช้แฟคซ์โมเด็มเป็นเครื่องพิมพ์(printer)ได้เมื่อคุณพิมพ์เข้าไปที่แฟคซ์โมเด็มมันจะส่งเอกสารของคุณไปยังเครื่องโทรสารที่ปลายทางได้ 4. ความสามารถในการควบคุมความผิดพลาด โมเด็มจะใช้วิธีการควบคุมความผิดพลาด (error control) ต่างๆ มากมายหลายวิธีในการตรวจสอบเพื่อการยืนยันว่าจะไม่มีข้อมูลใดๆสูญหายไประหว่างการส่งถ่ายข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง 5. ออกแบบให้ใช้ได้ทั้งภายในและภายนอก โมเด็มที่จำหน่ายในท้องตลาดทั่วๆ ไปจะมี 2 รูปแบบ คือ โมเด็มแบบติดตั้งภายนอก (external modems) และ แบบติดตั้งภายใน (internal modems) 6. ใช้เป็นโทรศัพท์ได้ โมเด็มบางรุ่นมีการใส่วงจรโทรศัพท์ธรรมดาเข้าไปพร้อมกับความสามารถในการรับ - ส่งข้อมูลและโทรสารด้วย
ใช้โมเด็มทำอะไรได้บ้าง
เราสามารถใช้โมเด็มทำอะไรต่างๆ ได้หลายอย่าง เช่ 1. พบปะพูดคุย 2. ใช้บริการต่างๆ จากที่บ้าน 3. ท่องไปบนอินเทอร์เน็ต 4. เข้าถึงบริการออนไลน์ได้ 5. ดาวน์โหลดข้อมูล,รูปภาพและโปรแกรมแชร์แวร์ได้ 6. ส่ง - รับโทรสาร 7. ตอบรับโทรศัพท์
การเลือกซื้อโมเด็ม
สิ่งที่ควรพิจารณาในการเลือกซื้อโมเด็มมาใช้งาน เช่น 1. เข้ากันได้กับระบบคอมพิวเตอร์ของคุณ 2. เข้ากันได้กับระบบทำงาน OS ของคอมพิวเตอร์ของคุณ 3. ความเร็วในการรับ - ส่งสัญญาณ 4. เป็นโมเด็มภายนอกหรือภายใน 5. การบีบอัดข้อมูล 6. ความสามารถในการควบคุมความผิดพลาด 7. รับ - ส่งโทรสารได้ 8. ซอฟท์แวร์สื่อสาร
สิ่งที่ต้องใช้ร่วมกับโมเด็ม
การที่สามารถใช้โมเด็มให้เกิดประโยชน์จากแหล่งข้อมูลนั้นจะต้องตรวจสอบว่ามีสิ่งเหล่านี้พร้อมหรือไม่ 1. ซอฟท์แวร์สื่อสาร 2. พอร์ทอนุกรม (serial port) 3. fast UART เป็นซิฟตัวหนึ่งที่ติดตั้งบนพอร์ทอนุกรมของคอมพิวเตอร์ เพื่อควบคุมการไหลของข้อมูลเข้าและออกจากพอร์ทอนุกรม 4. serial cable เป็นสาย cable ที่นำมาต่อโมเด็มกับพอร์ทอนุกรมของคอมพิวเตอร์ (ต้องตรวจสอบดูว่าเป็น connector แบบ 9 ขา หรือ 25 ขา) 5. expansion slot ถ้าโมเด็มเป็นแบบติดตั้งภายในจะต้องมี expansion slot ใช้งาน โดยจะต้องถอดฝาครอบตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ออกและติดตั้งโมเด็มลงไปบน expansion slot
โมเด็ม เป็นอุปกรณ์ที่ทำให้คอมพิวเตอร์รับ หรือ ส่งข้อมูล แฟ็กซ์ ผ่านสายโทรศัพท์ได้
โมเด็มย่อมาจากคำสองคำ คำว่า MO ย่อมาจาก MOdulation เป็นการแปลงสัญญาณดิจิตอล จากเครื่องคอมพิวเตอร์ ต้นทางให้กลายเป็นสัญาณอนาลอกแล้วส่งไปตามสายโทรศัพท์ DEM ย่อมาจาก DEModulation เป็นการเปลี่ยนจากสัญญาณอนาลอก ที่ได้จากสายโทรศัพท์ให้กลับไปเป็นสัญญาณดิจิตอล เพื่อส่งต่อไปยัง เครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทาง
สัญญาณจากคอมพิวเตอร์เป็นสัญญาณ Digital มีแค่ 0 กับ 1 เท่านั้น เมื่อเปลี่ยนมาเป็นสัญญาณอนาลอกอยู่ ในรูปที่คล้ายกับสัญญาณไฟฟ้า ของโทรศัพท์ จึงส่งไปทางสายโทรศัพท์ได้ สำหรับความไวของ โมเด็มที่ความไว 28.8 Kb. และ 33.6 Kb. นี่ไม่ค่อยมีปัญหาในการใช้เพราะมีมาตรฐาน เดียวกัน แต่โมเด็ม ความไวขนาด 28.8 Kb. ตอนนี้ไม่ค่อยมีใครใช้แล้ว สำหรับความไวที่ 33.6 Kb. นั้นยังผลิต และจำหน่ายเนื่อง จากยังมีผู้ใช้กันอยู่ Kb. นี่ย่อมาจากคำว่า Kilobit ครับ สังเกตตรงตัว b ซึ่งเป็นตัวเล็กจะอ่านเป็น bit หากเขียนตัวใหญ่ เช่นค่าความจุของฮาร์ดดิสก์จะเรียกป็น Kilobyte และเขียนเป็น KB. หรือ MB. เช่น Harddisk 540 MB. ฮาร์ดดิสก์ มีความจุ 540 เมกกะไบต์ สำหรับปัจจุบันนี้ความไวของโมเด็มจะสูงขึ้นที่ 56 Kb. ตอนแรกมีมาตรฐานออกมา 2 อย่างคือ X2 และ K56Flex ออกมาเพื่อแย่งชิงมาตรฐานกัน ทำให้สับสน ในการใช้งาน ต่อมามาตรฐานสากล ได้กำหนดออกมาเป็น V.90 เป็นการยุติความไม่แน่นอน ของการใช้งาน โมเด็มบางตัวสามารถ อัพเดทเป็น V.90 ได้ แต่บางตัวก็ไม่สามารถทำได้ ตอนซื้อควรกำหนด ให้เป็นมาตรฐาน V.90 เลย จะได้ไม่มีปัญหา สำหรับโมเด็มปัจจุบันนี้ยังมีความสามารถในการรับส่ง Fax ด้วย ความไวในการส่ง Fax จะอยู่ที่ 14.4 Kb. เท่านั้น หากดูตามรูปร่างการใช้งานก็จะแบ่งออกได้เป็น 3 อย่างคือ
1. โมเด็มภายใน (Internal Modem)
2. โมเด็มภายนอก (External Modem)
3. โมเด็ม PCMCIA
ข้อดีและเสียก็มีต่างกันครับ อันนี้จะไม่เอา PCMCIA มาเกี่ยวเนื่องจากจะนำไปใช้กับพวก Notebook
มาตราฐาน
Internal Modem Internal Modem เป็นโมเด็มที่มีลักษณะเป็นการ์ดเสียบกับสล็อตของเครื่องอาจจะเป็นแบบ ISA หรือ PCI ข้อดีก็คือ 1. ไม่เปลืองเนื้อที่ ไม่เกะกะ 2. ราคาถูก 3. ไม่ต้องใช้ไฟเลี้ยงต่างหาก เปิดเครื่องใช้งานได้ทันที เนื่องจากติดตั้งอยู่ในเครื่องแล้ว 4. ไม่มีปัญหากับเครื่องคอมรุ่นเก่าที่มีชิพ UART ที่มีความไวต่ำ เพราะการทำงานไม่ผ่าน serial port 5. ส่งถ่ายข้อมูลได้สูงกว่าแบบที่อยู่ภายนอก ข้อเสียคือ 1. ติดตั้งยากกว่า แบบภายนอก 2. เนื่องจากติดตั้งภายในเครื่องทำให้ใช้ไฟในเครื่องอันส่งผลให้เพิ่มความร้อน ในเครื่อง 3. เสียสล็อตของเครื่องไปหนึ่งสล็อต 4. เคลื่อนย้ายไปใช้เครื่องอื่นได้ยาก 5. ติดตั้งได้เฉพาะเครื่องคอมแบบ PC เท่านั้นไม่สามารถใช้งานกับ NoteBook ได้
External Modem External Modem เป็นโมเด็มที่ติดตั้งภายนอกโดยจะต่อกับ Serial Port อาจจะเป็นที่ Com1 หรือ Com2 บางครั้งนาน ๆ เจอก็ติดที่ Pararel port ก็มีบ้าง (ยังไม่เคยเจอเลย) ข้อดีคือ 1. สามารถเคลื่อนย้ายไปใช้กับเครื่องอื่นได้ง่าย 2. ติดตั้งได้ง่ายกว่า 3. ไม่เพิ่มความร้อนให้ กับเครื่องคอมพิวเตอร์ เนื่องจากติดตั้งอยู่ภายนอกและใช้แหล่งจ่ายไฟภายนอก 4. สามารถใช้ งานกับเครื่อง NoteBook ได้เนื่องจากต่อกับ Serial Port หรือ Parallel Port มีไฟแสดง สภาวะการทำงานของโมเด็ม ข้อเสีย 1. มีราคาแพง 2. เกะกะ 3. เกิดปัญหาจากสายต่อได้ง่าย 4. เสียพอร์ต Serial หรือ Parallel Port ไปหนึ่งอัน 5. หากใช้กับคอมพิวเตอร์รุ่นเก่าจะทำให้ได้ความไวต่ำเนื่องจากชิพ UART ของเครื่องรุ่นเก่ามีความไวต่ำ
ในการเลือกใช้จึงต้องดูหลายประการเช่น ทุนทรัพย์ ความสะดวกในการใช้งาน คอมพิวเตอร์ เป็นรุ่นเก่า ก็ควรใช้แบบ internal และหากมีแต่ Slot ISA ก็ต้องเลือกแบบ ISA Internal หากต้องการเคลื่อนย้ายไปใช้กับ เครื่องอื่นอยู่เรื่อยก็ต้องใช้แบบภายนอก อีกอย่างก็เป็น ความชอบก็มีส่วนอยู่ด้วยครับ หากให้สะดวกก็ควรเป็น แบบ Internal ครับจะได้ความไวที่ โดยมากจะสูงกว่าแบบภายนอก แต่หากมีปัญหาทุนทรัพย์ก็คงต้องเลือก แบบ Internal อีกแหละ ก็มีปัจจัยหลายอย่างในการเลือกใช้ครับ แต่ก็ต้องดูด้วยว่า ISP (Internet Service Provider) ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต ที่คุณใช้นั้นรองรับ มาตรฐานแบบไหนแต่ที่แน่นอนก็ต้องเลือกให้มีมาตรฐาน V.90 ครับ
ข้อเสียของโมเด็มรุ่นใหม่ ๆ ที่มีราคาถูกที่เป็น Internal PCI คือผู้ผลิดเขาจะตัดชิพที่ ทำหน้าที่ ตรวจสอบความผิดพลาด แก้ไขสัญญาณรบกวน (Error Correction) ที่มีมาก ในสายโทรศัพท์ในบางที่ แล้วไปใช้ความสามารถของซีพียูมาทำหน้าที่นี้แทน ทำให้เกิดการใช้ งานซีพียูเพิ่มมากขึ้นทำให้ความเร็วของ เครื่องลดลง หรือสัญญาณโทรศัพท์อาจตัดหรือ เรียกว่าสายหลุดได้ง่าย ตรงนี้ควรนำมาพิจารณาเป็นพิเศษ
จากที่เรียบเรียงมานี่จะได้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจเลือกซื้อโมเด็มว่าจะใช้แบบ Internal หรือ External ดีและเป็นคำตอบที่ว่า การใช้โมเด็มบางตัวทำไมทำ เหมือนกับเครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานช้าลง หรือว่าทำไมสายหลุดง่ายจังเลย ส่วนการเลือกซื้อนั้น ยังมีปัจจัยอื่นมาเกี่ยวข้องด้วยเช่น ยี่ห้อ ระยะเวลา การรับประกัน ความรับผิดชอบของตัวแทนจำหน่าย การอัพเดทไดรฟ์เวอร์ ประวัติความคงทน และความสามารถพิเศษอื่น ๆ เป็นต้นครับ การเลือกซื้อโมเด็มควารเป็นโมเด็มที่มีความไว 56 K และต้องสนับสนุนมาตรฐาน V.90 นอกจากดูความเร็ว แล้ว ยังต้องดูอัตราความเร็ว Throughputs ด้วย โดย แบบเดิมโดยมากทำได้ 115,200 bit/s แต่ในปัจจุบัน จะทำได้ถึง 223,400 bit/s ทำใประหยัดเวลาในการใช้ งานอินเทอร์เน็ตและช่วยให้ดาวน์โหลดไฟล์ได้เร็วขึ้น อีก ทั้งเป็นการประหยัดค่าอินเทอร์เน็ตด้วย สำหรับคุณสมบัติ ที่ควรมีของโมเด็มคือ DSVD ที่ทำให้โมเด็มสามารถส่งผ่าน ข้อมูล Voice และ Data ได้ในขณะเดียวกันได้โดยความ เร็วไม่ลดลง และดูสิ่งที่ให้มาด้วยเช่น ซอฟท์แวร์ต่าง ๆ รวมทั้งดูว่าสามารถใช้อ่านอื่น ๆ ได้เช่น Fax, Voice, Mail และ Call ID เป็นต้น
การทำเครื่อง PC เป็น Fax
จากที่กล่าวไว้ว่า modem สามารถนำมาประยุกต์เพื่อใช้ในการส่งแฟ๊กซ์ผ่านเครื่อง PC ได้ ซึ่งการทำนั้นไม่ยากเลย เพืยงแค่ติดตั้ง Modem จากนั้นเพียงติดตั้งโปรแกรมที่สามารถรับและส่งแฟ๊กซ์ได้ (ปกติจะแถมมาพร้อมกับ Modem) สำหรับโปรแกรมที่นิยมใช้ในการทำเป็นเครื่อง Fax ได้แก่
1. WinFax
2. Supervoice
การใช้งานเพียงแต่เลือกเครื่องพิมพ์ ที่เป็นประเภท FAX เท่านั้นก็ใช้งานได้ทันที

คุณสมบัติของโปรแกรม ต่างๆ ที่มีความสําคัญ ในการใช้อินเทอร์เน็ต
ความสำคัญของอินเทอร์เน็ต
          ในปัจจุบันอินเทอร์เน็ตมีบทบาทและมีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของคนเราเป็นอย่างมาก  เพราะทำให้วิถีชีวิตเราทันสมัยและทันเหตุการณ์อยู่เสมอ  เนื่องจากอินเทอร์เน็ตจะมีการเสนอข้อมูลข่าวปัจจุบัน  และสิ่งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นให้ผู้ใช้ทราบเปลี่ยนแปลงไปทุกวัน  สารสนเทศที่เสนอในอินเทอร์เน็ตจะมีมากมายหลายรูปแบบเพื่อสนองความสนใจและความต้องการของผู้ใช้ทุกกลุ่ม  อินเทอร์เน็ตจึงเป็นแหล่งสารสนเทศสำคัญสำหรับทุกคนเพราะสามารถค้นหาสิ่งที่ตนสนใจได้ในทันทีโดยไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปค้นคว้าในห้องสมุด  หรือแม้แต่การรับรู้ข่าวสารทั่วโลกก็สามารถอ่านได้ในอินเทอร์เน็ตจากเว็บไซต์ต่าง ๆ ของหนังสือพิมพ์
          ดังนั้นอินเทอร์เน็ตจึงมีความสำคัญกับวิถีชีวิตของคนเราในปัจจุบันเป็นอย่างมากในทุก ๆ ด้าน  ไม่ว่าจะเป็นบุคคลที่อยู่ในวงการธุรกิจ  การศึกษา  ต่างก็ได้รับประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตด้วยกันทั้งนั้น
          1.  ด้านการศึกษา  อินเทอร์เน็ตมีความสำคัญ  ดังนี้
                    1.  สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูล  ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางวิชาการ  ข้อมูลด้านการบันเทิง  ด้านการแพทย์  และอื่น ๆ ที่น่าสนใจ
                    2.  ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  จะทำหน้าที่เปรียบเสมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่
                    3.  นักเรียนนักศึกษาสามารถใช้อินเทอร์เน็ตติดต่อกับมหาวิทยาลัยหรือโรงเรียนอื่น ๆ เพื่อค้นหาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้  ทั้งที่ข้อมูลที่เป็นข้อความเสียง  ภาพเคลื่อนไหวต่าง ๆ
          2.  ด้านธุรกิจและการพาณิชย์  อินเทอร์เน็ตมีความสำคัญดังนี้
                    1.  ค้นหาข้อมูลต่าง ๆ เพื่อช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจ
                    2.  สามารถซื้อขายสินค้า  ทำธุรกรรมผ่านระบบเครือข่าย
                    3.  เป็นช่องทางในการประชาสัมพันธ์  โฆษณาสินค้า  ติดต่อสื่อสารทางธุรกิจ
                    4.  ผู้ใช้ที่เป็นบริษัท    หรือองค์กรต่าง ๆ ก็สามารถเปิดให้บริการ  และสนับสนุนลูกค้าของตนผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้  เช่น  การให้คำแนะนำ  สอบถามปัญหาต่าง ๆ ให้แก่ลูกค้า  แจกจ่ายตัวโปรแกรมทดลองใช้ (Shareware)  โปรแกรมแจกฟรี (Freeware)
          3.  ด้านการบันเทิง  อินเทอร์เน็ตมีความสำคัญดังนี้
                    1.  การพักผ่อนหย่อนใจ  สันทนาการ  เช่น  การค้นหาวารสารต่าง ๆ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต  ที่เรียกว่า  Magazine Online  รวมทั้งหนังสือพิมพ์และข่าวสารอื่น ๆ โดยมีภาพประกอบที่จอคอมพิวเตอร์เหมือนกับวารสารตามร้านหนังสือทั่ว ๆ ไป
                    2.  สามารถฟังวิทยุหรือดูรายการโทรทัศน์ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้
                    3.  สามารถดึงข้อมูล  (Download)  ภาพยนตร์มาดูได้

วิธีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแต่ละประเภท
การเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ต
เมื่อท่านต้องการเข้าใช้บริการต่าง ๆในอินเตอร์เน็ตนั้นท่านจำเป็นต้องทำการเชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต ซึ่งการเชื่อมต่อที่นิยมกันมีอยู่สามประเภทดังนี้
  • เชื่อมต่อกันโดยตรง(Direct conection)
  • เชื่อมต่อผ่านเครือข่ายโทรศัพท์แบบ Dialup IP
  • เชื่อมต่อผ่านเครือข่ายโทรศัพท์แบบ Terminal Emulation
เชื่อมต่อกันโดยตรง(Direct conection)
วิธีการเชื่อมต่อแบบนี้เป็นวิธีที่ทรงประสิทธิภาพที่สุด แต่เป็นวิธีที่เสียค่าใช้จ่ายแพงที่สุด ดังนั้นจึงเหมาะกับหน่วยงานขนาดใหญ่เพราะมีงบประมาณมากพอ การเชื่อมต่อแบบนี้เป็นการเชื่อมต่อเข้ากับอินเตอร์เน็ตโดยตรงไม่ผ่านทางเครือข่ายโทรศัพท์ หรือ เครือข่ายอืน และเป็นการเชื่อมต่อตลอดเวลาคือ ตลอด 24 ชั่วโมง และ ทุกวัน จะใช้อินเตอร์เน็ตหรือไม่ใช้ก็จะเชื่อมต่ออยู่ตลอดเวลา สิ่งที่ ทางหน่วยงานที่ต้องการใช้วิธีเชื่อมต่อแบบนี้ต้องจัดหาได้แก่
  • สายสัญญาณสื่อกลางอาจเป็นสายเช่าพิเศษ เช่น Leased Line, ISDN เป็นต้น
  • อุปกรณ์เชื่อมต่อเข้ากับสายสัญญาณสื่อกลาง อุปกรณ์ที่ว่านี้คือ Router ซึ่งทำหน้าที่เป็น Gateway สู่อินเตอร์เน็ต 
การเชื่อมต่อทำได้โดยใช้อุปกรณ์ Routerทำการเชื่อมคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานหรือ เน็ตเวิร์กของหน่วยงานเข้ากับสายสัญญาณสื่อกลาง สำหรับสายสัญญาณสื่อกลางนี้จะต่อไป ยังหน่วยงานผู้ให้บริการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตหรือ Internet Service Provider (ISP) เนื่องจากว่า ISP มีวงจรที่เชื่อมต่อไปยังอินเตอร์เน็ต ดังนั้นเมื่อเชื่อมต่อแล้วคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในเน็ตเวิร์ก ของหน่วยงานนั้น ก็จะสามารถติดต่อกับอินเตอร์เน็ตได้ตลอดเวลา

เชื่อมต่อผ่านเครือข่ายโทรศัพท์แบบ Dialup IP
การเชื่อมต่อวิธีนี้เป็นการเชื่อมต่อแบบไม่ตลอดเวลา เมื่อไรที่ต้องการใช้อินเตอร์เน็ตก็ค่อยทำการ เชื่อมต่อ และเมื่อเลือกใช้ก็ค่อยยกเลิกการเชื่อมต่อ วิธีนี้เหมาะกับหน่วยงานที่ไม่มีงบประมาณพอ ที่จะใช้วิธีแรกหรือหน่วยงานขนาดเล็ก หรือบุคคลทั่วไปอาจใช้วิธีนี้เพราะว่าเสียค่าใช้จ่ายไม่แพง
การเชื่อมต่อวิธีนี้ใช้ผ่านทางเครือข่ายโทรศัพท์คือเมื่อไรที่ต้องการใช้อินเตอร์ก็ให้หมุนโทรศัพท์ติดต่อไป สิ่งแรกที่ท่านที่ต้องการใช้อินเตอร์เน็ตวิธีนี้ต้องทำคือ ต้องไปสมัครเป็นสมาชิกของหน่วยงานผู้ให้บริการ อินเตอร์เน็ต หรือ ISP(Internet service provider) เจ้าใดเจ้าหนึ่ง เมื่อสมัครเป็นสมาชิกแล้ว ทางISP จะให้ชื่อผู้ใช้(user account) และรหัสผ่าน(password) พร้อมทั้งเบอร์โทรศํพท์สำหรับติดต่อใช้อิน เตอร์เน็ต เบอร์โทรศัพท์ที่ว่านี้บางทีอาจมีเป็นร้อยเบอร์ หรือพันเบอร์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าISPมีสมาชิก มากน้อยเท่าไร
เชื่อมต่อผ่านเครือข่ายโทรศัพท์แบบ Terminal Emulation
- การเชื่อมต่อวิธีนี้จะมีค่าใช้จ่ายถูกที่สุด ลักษณะการเชื่อมต่อเหมือนกับวิธีที่สอง คือผ่านทางเครือข่ายโทรศัพท์ มีข้อแตกต่างจากวิธีที่สองอยู่ตรงที่รูปแบบการใช้งาน มีรูปแบบเดียวคือต้องใช้ในแบบ text เท่านั้น ไม่สามารถใช้ในแบบกราฟิกได้ บริการอะไรก็ตามในอินเตอร์เน็ตก็ตามที่เป็นมีลักษณะการใช้งาน เป็นแบบกราฟิก จะใช้ไม่ได้ในการเชื่อมต่อวิธีนี้ เช่น Web เป็นต้น ส่วนบริการที่มีลักษณะการใช้งานเป็น text ย่อมสามารถใช้ในการติดต่อวิธีนี้ได้ เช่น จดหมายอิเล็คโทรนิคส์ (E-mail) เป็นต้น ดังนั้นบางแห่งจึงเรียกการเชื่อมต่อวิธีนี้ว่า การติดต่อแบบไปรษณีย์เท่านั้น (E-mail Only Connection)
ความสำคัญและการตัดสินใจเลือกใช้ผู้ให้บริการอิเตอร์เน็ต
การเลือกผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP)
    อินเทอร์เน็ตกลายเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวันของคนโดยทั่วไปแล้ว อ่านเนื้อหาต่อไปนี้เพื่อให้ทราบถึงสิ่งที่คุณควรพิจารณาเกี่ยวกับวิธีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต และการเลือกผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) นอกจากนี้ ยังมีเคล็ดลับในการป้องกันเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณให้ปลอดภัยเมื่อใช้งานออนไลน์ 

ขั้นตอนที่ 1: การเลือกการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต

สิ่งที่คุณจะต้องตัดสินใจเป็นอันดับแรก คือ คุณจะเชื่อมต่อโดยใช้การเรียกเลขหมาย หรือบรอดแบนด์ (DSL หรือเคเบิลโมเด็ม) ตัวเลือกแต่ละตัวเลือกมีทั้งข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกัน คุณควรหาเวลาในการอ่านรายละเอียดเกี่ยวกับตัวเลือกแต่ละตัวเลือก แล้วตัดสินใจว่าคุณสมบัติใดที่เหมาะกับการใช้งานของคุณ 

การเชื่อมต่อแบบเรียกผ่านสายโทรศัพท์ 
การทำงานของการเชื่อมต่อแบบเรียกผ่านสายโทรศัพท์เหมือนกับชื่อที่ใช้เรียก นั่นคือเป็นการ "เรียกเลขหมาย" ไปยังผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) ของคุณ ตัวเลือกนี้เป็นตัวเลือกที่ เสียค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด และความเร็วในการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตก็ต่ำสุดด้วย นอกจากนี้ การทำงานยังขึ้นอยู่กับสายโทรศัพท์ คุณสามารถตั้งค่าให้ยกเลิกการเชื่อมต่อเมื่อมีสายเข้า อย่างไรก็ตาม การตั้งค่าดังกล่าวอาจทำให้เกิดปัญหา ถ้าคุณไม่ต้องการให้มีการยกเลิกการเชื่อมต่อโดยไม่คาดคิด

ถ้าปกติคุณใช้งานอินเทอร์เน็ตวันละหนึ่งชั่วโมงหรือน้อยกว่านั้น ไม่ได้ดาวน์โหลดไฟล์มากนัก และสายโทรศัพท์ที่ติดอยู่กับ การใช้งานอินเทอร์เน็ตไม่เป็นปัญหาสำหรับคุณ การเชื่อมต่อแบบเรียกผ่านสายโทรศัพท์อาจเป็นตัวเลือกที่เหมาะสม คุณอาจขอเพิ่มสายโทรศัพท์ "เฉพาะ" สำหรับการเชื่อมต่อแบบเรียกผ่านสายโทรศัพท์จากบริษัทที่ให้บริการโทรศัพท์ ซึ่งจะทำให้คุณสามารถทำงานแบบออนไลน์ และใช้โทรศัพท์ในเวลาเดียวกันได้

อย่างไรก็ตาม ถ้าคุณต้องการดาวน์โหลดไฟล์ ใช้งานอินเทอร์เน็ตวันละหลายชั่วโมง หรือต้องการการทำงานที่รวดเร็วขึ้น คุณควรใช้สาย DSL หรือเคเบิลโมเด็ม

การเชื่อมต่อแบบ DSL และเคเบิลโมเด็ม 
โดยปกติ การเชื่อมต่อแบบ DSL และเคเบิลโมเด็มมักมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่าสายโทรศัพท์ แต่มีการทำงานที่เร็วกว่ามาก นอกจากนี้ คุณยังสามารถใช้โทรศัพท์ขณะออนไลน์ได้ (สาย DSL สามารถให้บริการทั้งสองอย่างได้พร้อมกัน ในขณะที่เคเบิลโมเด็มจะใช้สายร่วมกับสายเคเบิลของโทรทัศน์)

ทั้ง DSL และบริการเคเบิลจะเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตตลอด 24 ชั่วโมง ดังนั้น คุณไม่ต้องเสียเวลารอในขณะที่โมเด็มเรียกเลขหมายไปยังผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) ของคุณ คุณเพียงแต่เปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ แล้วเริ่มซอฟต์แวร์อีเมลหรือเว็บของคุณ

แล้วข้อเสียคืออะไร ข้อเสียที่สำคัญคือเรื่องความปลอดภัย เครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตอยู่ตลอดเวลา ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้แฮกเกอร์มีเวลามากขึ้นในการ "ค้นหา" เครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณ และพยายามเข้าโจมตีในที่สุด (บริการเรียกเลขหมายผ่านสายโทรศัพท์ก็เสี่ยงในการถูกโจมตีด้วยเช่นกัน)

ไม่ว่าคุณจะใช้การเชื่อมต่อแบบใด คุณควรใช้ไฟร์วอลล์ ปรับปรุงซอฟต์แวร์ทั้งหมดของคุณอย่างสม่ำเสมอ และรักษาสถานะการเป็นสมาชิกของซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสปัจจุบันเอาไว้ การใช้เครื่องมือเหล่านี้จะช่วยป้องกันเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณเมื่อทำงานแบบออนไลน์ได้ 

ขั้นตอนที่ 2: การเลือกผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต 
เมื่อคุณทราบแล้วว่าคุณจะเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตอย่างไร ก็ถึงเวลาที่คุณจะเลือกผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) โดยผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต คือ ผู้ให้บริการการเชื่อมต่อไปยังอินเทอร์เน็ต ถ้าคุณตัดสินใจที่จะใช้การเรียกผ่านสายโทรศัพท์ คุณจะต้องเลือกผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) แยกจากผู้ให้บริการโทรศัพท์ในปัจจุบันมีทั้งผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) ระดับประเทศ และผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) ในท้องถิ่น ในเมืองใหญ่ๆ ด้วยเช่นกัน คุณควรหาเวลาในการเปรียบเทียบข้อมูลของผู้ให้บริการแต่ละราย สอบถามจากเพื่อนบ้านและเพื่อนของคุณเพื่อขอคำแนะนำ แล้วดูตัวเลือกต่างๆ ถ้าคุณเลือกผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตรายแรกที่คุณพบ คุณอาจพลาดข้อเสนอที่เหมาะกับการใช้งานของคุณมากกว่า

เคล็ดลับ: บริการ DSL และเคเบิลโมเด็มจะให้แอคเคาท์สำหรับการใช้งานอินเทอร์เน็ต (Internet access: ISP) มาด้วยเสมอ ในการประเมินบริษัทต่างๆ คุณควรพิจารณาทั้งผู้ให้บริการแบบบรอดแบนต์และผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) ผู้ให้บริการบางรายอาจให้คุณใช้ ISP อื่นด้วยเช่นกัน

ถ้าคุณไม่คุ้นเคยกับการใช้งานอินเทอร์เน็ต และรู้สึกไม่สะดวกที่จะตัดสินใจ คุณสามารถสอบถามจากเพื่อนที่มีความรู้ทางด้านเทคนิคเพื่อช่วยคุณในการตัดสินใจ ปัจจัยที่ใช้ในการพิจารณาเมื่อคุณตัดสินใจมีดังต่อไปนี้ 

- การบริการลูกค้า พิจารณาผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) ที่มีชื่อเสียงในเรื่องการบริการลูกค้า 
- อัตราค่าบริการ ในปัจจุบันมีการให้ข้อเสนอที่น่าสนใจอย่างมากมาย คุณจะต้องตรวจสอบให้แน่ใจก่อนตัดสินใจเลือก 
- ความมั่นคง เช่นเดียวกับธุรกิจที่ให้ผลตอบแทนสูงประเภทอื่นๆ บางบริษัทเปิดดำเนินการเพียงเพื่อแสวงหาผลกำไร จากนั้นก็ปิดกิจการลง คุณควรหาผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) ที่ดำเนินธุรกิจมาแล้วหลายปี 
- ข้อเสนอพิเศษ ในสภาวะของตลาดที่มีการแข่งขันสูง บางบริษัทมีการให้ข้อเสนอพิเศษ เช่น การให้พื้นที่เว็บไซต์ฟรี เพื่อดึงความสนใจจากคุณ ข้อเสนอพิเศษเป็นสิ่งที่น่าสนใจ แต่คุณจะต้องระมัดระวัง และตัดสินใจเลือกใช้บริการจากบริษัทที่ให้บริการในระยะยาว 

ขั้นตอนที่ 3: การติดตั้งโมเด็ม 
ไม่ว่าคุณจะใช้การเชื่อมต่อแบบเรียกเลขหมาย DSL หรือเคเบิล คุณจะต้องใช้โมเด็มในการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณกับอินเทอร์เน็ต ถ้าคุณซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ในช่วง 2 - 3 ปีที่ผ่านมา คุณน่าจะมีโมเด็มติดตั้งไว้แล้ว ในปัจจุบัน บริษัทโดยส่วนใหญ่มักจะติดตั้งโมเด็มภายในที่สนับสนุนการเชื่อมต่อ แบบเรียกผ่านสายโทรศัพท์มาให้ด้วย ถ้าคุณไม่มีโมเด็ม หรือคุณต้องการปรับรุ่นโมเด็ม คุณสามารถซื้อ (หรือเช่าสำหรับบางกรณี) โมเด็มใหม่ได้ คุณจะต้องระมัดระวังในการเลือกโมเด็มให้ตรงกับประเภทของการเชื่อมต่อของคุณ

โมเด็มที่ใช้เชื่อมต่อกับสายโทรศัพท์ ไม่ว่าจะเป็นแบบติดตั้งภายในหรือภายนอก จะใช้สำหรับการเชื่อมต่อแบบเรียกผ่านสายโทรศัพท์ ถ้าคุณต้องการใช้บริการ DSL หรือเคเบิลโมเด็ม คุณจะต้องหาโมเด็มชนิดพิเศษที่ออกแบบมาสำหรับบริการที่คุณเลือก (คุณไม่สามารถใช้โมเด็มแบบติดตั้งภายในหรือภายนอกสำหรับบริการเหล่านี้) ผู้ให้บริการโดยส่วนใหญ่จะมีโมเด็มที่คุณจำเป็นต้องใช้ คุณจะต้องสอบถามให้แน่ใจเมื่อคุณต้องการใช้บริการนี้

เคล็ดลับ: ก่อนที่คุณจะเลือกซื้อโมเด็ม ให้ขอรายชื่ออุปกรณ์ที่สามารถใช้งานได้จากผู้ให้บริการของคุณ เมื่อคุณตัดสินใจใช้ DSL หรือเคเบิลโมเด็ม ค่าอุปกรณ์ดังกล่าวอาจรวมอยู่ในค่าใช้จ่ายในการติดตั้งแล้ว

เมื่อคุณได้รับอุปกรณ์มาแล้ว คุณจะต้องติดตั้งอุปกรณ์ ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต (ISP) ของคุณควรให้คำแนะนำในการติดตั้งโมเด็ม และเชื่อมต่อไปยังอินเทอร์เน็ต อย่าเกรงกลัวที่จะติดต่อขอความช่วยเหลือ ถ้าคุณไม่ทราบว่าจะต้องดำเนินการอย่างไร บางบริษัทจะส่งช่างเทคนิคเพื่อดำเนินการติดตั้งอุปกรณ์เมื่อคุณต้องการ คุณต้องสอบถามว่ามีการคิดค่าบริการสำหรับบริการนอกสถานที่หรือไม่ 
การเชื่อมต่อของ การใช้งานอินเตอร์เน็ต
การเชื่อมต่อโดยหมุนโมเด็ม (Remote Access)
การเชื่อมต่ออินเทอร์แบบนี้สิ่งที่จำเป็นจะต้องมีได้แก่
1.การขออนุญาตและเสียค่าบริการให้ผู้บริการอินเทอร์เน็ต Internet Service Provider (ISP)
หรือที่สถาบันที่ท่านศึกษา หรือหน่วยงานที่ท่านทำงานอยู่
โดยสิ่งที่ได้คือ ชื่อผู้ใช้ (Internet Account ) และรหัสผ่าน (Password)

                           

2.สายโทรศัพท์
3.โมเด็ม อาจจะเป็น Internal Modem หรือ External Modemเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรมสื่อสารข้อมูล (Communication Program)
           
ขั้นตอน
1. เข้ามาที่ เริ่ม Start => Setting => Dial-Up Networking  ตามลำดับ ดังภาพ
2.จะได้กรอบ Dial-Up Networking ให้ดับเบิลคลิกที่ Make New Connect  ดังภาพ
3.ที่กรอบ Make New Connect นี้ ในช่อง Type a name for the computer you are dialing ให้ตั้งชื่อหน่วยงานหรือ ISP ที่ต้องการต่อเชื่อมอินเทอร์เนต แล้วคลิกปุ่ม Next
4.จากนั้นกำหนดหมายโทรศัพท์ที่หน่วยงานกำหนดให้สามารถต่อเชื่อมอินเทอร์เนตได้
ในช่อง Area code กำหนดรหัสทางไกล และช่อง Telephone กำหนดหมายเลขโทรศัพท์
แล้วกดปุ่ม Next
5.มาถึงตอนนี้ก็เป็นอันเสร็จขั้นตอนการกำหนดให้เครื่องคอมพิวเตอร์หมุนโมเด็ม ให้คลิกปุ่ม Finish
6.ท่านก็จะได้ Icon เพื่อการหมุนโมเด็มเพื่อติดต่ออินเทอร์เนต ดังภาพ
7. มาถึงตอนนี้ก็จะเป็นหมุนโมเด็มเพื่อเชื่อมต่ออินเทอร์เนต โดยการดับเบิลคลิกที่ Icon NU University ดังกล่าว
ในช่อง User name ให้ท่านใส่ User name ที่ได้รับจากหน่วยงานหรือ ISP
ในช่อง Password ให้ใส่ Password ที่ได้รับเช่นกัน
เรียบร้อยให้คลิกปุ่ม Connect
8.จากนั้นคอมพิวเตอร์ก็จะทำการหมุนโมเด็มเพื่อเชื่อมต่อระบบอินเทอร์เนต
หากสามารถเชื่อมต่อได้ ท่านก็สามารถใช้บริการอินเทอร์เนตได้
9. เป็นไปได้ในบางครั้งคู่สายอาจจะไม่ว่าง เนื่องจากมีผู้ใช้อินเทอร์เนตมาก
เราก็จำเป็นต้องหมุนใหม่ โดยการคลิกที่ปุ่ม Connect อีกครั้ง
เท่านี้ก็เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนการเชื่อมต่ออินเทอร์เนตโดยหมุนโมเด็ม (Remote Access)
หากท่านไม่สามารถใช้บริการได้ก็ขอให้ติดต่อกับผู้ให้บริการ System Admin ได้โดยตรง
ต่อไปจะได้กล่าวถึงการเชื่อมต่ออินเทอร์เนตในระบบ LAN

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

พาท่องเที่ยวภาคเหนือ

  10 กิจกรรมท่องเที่ยงเชียงใหม่ 1. กิจกรรมที่โป่งแยงแอดเวนเจอร์ (Pong Yang Adventure Park) เชียงใหม่ เป็นจังหวัดที่มีสถานที่ท่องเที่ยวหลายแน...